ภาวะครรภ์เป็นพิษ
การทดสอบก่อนคลอด

การจัดการภาวะครรภ์เป็นพิษอย่างครบวงจรสำหรับทุกไตรมาส

ภาพรวม

ช่วยชีวิตแม่และเด็กด้วยการตรวจคัดกรองแต่เนิ่นๆ และการดูแลที่ดียิ่งขึ้น

ภาวะครรภ์เป็นพิษคือภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งจะเกิดขึ้นในหญิงมีครรภ์ประมาณ 2-8 เปอร์เซ็นต์
สาเหตุนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ความเสี่ยงนั้นชัดเจนคือ ภาวะครรภ์เป็นพิษที่ไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลให้จำกัดการเจริญเติบโตหรือมีการคลอดก่อนกำหนดของทารก และในบางกรณีก็อาจนำไปสู่การเสียชีวิตของมารดาและการเสียชีวิตปริกำเนิดของทารกได้ แต่ด้วยการตรวจคัดกรอง ภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง ภาวะครรภ์เป็นพิษในระยะเริ่มแรก และภาวะครรภ์เป็นพิษในอายุครรภ์ก่อนกำหนดที่มีความเสี่ยงสูงก็สามารถทำนายและป้องกันได้

ภาพรวม

2-8 %

ของหญิงตั้งครรภ์ทั่วโลกมีภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นประจำทุกปี

ทารกกว่า 2.5 ล้านคน

ต้องคลอดก่อนกำหนดโดยมีสาเหตุเกิดจากภาวะครรภ์เป็นพิษในทุกๆ ปี

500,000

ต้องเสียชีวิตด้วยสาเหตุจากภาวะครรภ์เป็นพิษในทุกๆ ปี

76,000

ต้องเสียชีวิตเนื่องจากเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษในทุกๆ ปี

ไตรมาสที่ 1

การทำนายโรคและการป้องกันโรค

ไตรมาสที่ 1

ผู้หญิงควรเข้ารับการตรวจคัดกรองภาวะครรภ์เป็นพิษเมื่อใด

การประเมินความเสี่ยง

ช่วงเวลานั้นมีความสำคัญยิ่งกว่าที่เคย

เมื่อกล่าวถึงการป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษแล้ว ยิ่งตรวจพบผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะดังกล่าวได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะเกิดผลดีต่อแม่และเด็กมากขึ้นเท่านั้น ตามหลักฐานจากการศึกษาวิจัย เช่น การศึกษาวิจัย ASPRE แนะนำให้ใช้โปรแกรมการตรวจคัดกรองรวมในช่วงอายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์ เพื่อระบุผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ เมื่อยังดำเนินการตามขั้นตอนในการป้องกันการเริ่มแสดงอาการได้

ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองภาวะครรภ์เป็นพิษ

who_should_be_screened

ผู้หญิงทุกคนอาจมีความเสี่ยงสูงได้

ผู้หญิงทุกคนควรได้รับการตรวจคัดกรอง ถึงแม้จะไม่มีปัจจัยเสี่ยงของมารดาหรือไม่มีประวัติการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษมาก่อนก็ตาม การทำนายภาวะครรภ์เป็นพิษในอายุครรภ์ก่อนกำหนดได้ตั้งแต่ช่วงต้นของการตั้งครรภ์ นับเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการป้องกัน

ตัวบ่งชี้ในการตรวจคัดกรองภาวะครรภ์เป็นพิษ

Rectangle 281

ตัวบ่งชี้เฉพาะสำหรับภาวะครรภ์เป็นพิษ – PlGF

ในผู้ที่เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ระดับโปรตีนกระตุ้นการสร้างหลอดเลือด (PlGF; Placental Growth Factor) ในซีรัมของมารดาจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงไตรมาสแรก ทำให้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพสำคัญที่ใช้สำหรับทำนายการเริ่มเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้ ถูกปรับให้เหมาะสำหรับการตรวจคัดกรองภาวะครรภ์เป็นพิษในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ และเป็นการตรวจวิเคราะห์เพียงวิธีเดียวที่ผ่านการรับรองทางคลินิกจากการทดลอง ASPRE

การใช้ยาแอสไพรินขนาดเล็กน้อยเพื่อเป็นการดูแลเชิงป้องกัน

Rectangle 397

ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ

แพทย์อาจแนะนำการใช้ยาแอสไพรินเป็นการรักษาเชิงป้องกันสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ผ่านการตรวจคัดกรองที่มีจุดมุ่งหมายคือการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษหรืออย่างน้อยก็ช่วยชะลอการเกิดภาวะดังกล่าวไปได้ จากการศึกษาวิจัยเรื่องยาแอสไพรินเพื่อป้องกันการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (ASPRE) แสดงให้เห็นว่าการรักษาด้วยวิธีง่ายๆ อย่างการรับประทานยาแอสไพรินขนาด 150 มก. ทุกคืน สามารถลดความเสี่ยงที่หญิงมีครรภ์จะเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษในอายุครรภ์ก่อนกำหนดได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเริ่มใช้ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ (ควรใช้ยาแอสไพรินเป็นการรักษาเชิงป้องกันสำหรับผู้ที่ได้รับการตรวจคัดกรองและพบว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษในอายุครรภ์ก่อนกำหนดเท่านั้น)

ไตรมาสที่ 1

โปรแกรมการตรวจคัดกรองรวม

หลักฐานจากการศึกษาวิจัยระบุว่า แนวทางสากลได้แนะนำโปรแกรมการตรวจคัดกรองรวมสำหรับภาวะครรภ์เป็นพิษในสัปดาห์ที่ 11-13+6 ให้เป็นวิธีการที่ได้ผลที่สุดสำหรับระบุผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษสูงในการตั้งครรภ์ระยะแรก

โปรแกรมการตรวจคัดกรองรวมประกอบด้วยขั้นตอนง่ายๆ 4 ขั้นตอน ซึ่งต้องรับการฝึกอบรมสั้นๆ และต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย LifeCycle Software™ ของ PerkinElmer สามารถสร้างโปรไฟล์ความเสี่ยงเฉพาะสำหรับผู้ป่วย แล้วรายงานโดยอ้างอิงจากตัวบ่งชี้ในการตรวจคัดกรองรวมเหล่านี้

ไตรมาสที่ 1
ประวัติผู้ป่วย

บันทึกประวัติผู้ป่วย ส่วนสูง และน้ำหนัก

เป็นที่ทราบกันว่าปัจจัยบางอย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้ ดังนั้น ในการตรวจคัดกรองภาวะครรภ์เป็นพิษแบบรวมจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องระบุแล้วบันทึกข้อมูลภูมิหลังความเสี่ยงใดๆ รวมถึงประวัติการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษครั้งก่อนหน้าหรือที่เกิดภายในครอบครัว ชาติพันธุ์ ภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรัง และการสูบบุหรี่

การตรวจเลือดหาค่า PlGF

เจาะตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจหา PlGF

การตรวจวิเคราะห์ PlGF 1-2-3™ ความไวสูงของ PerkinElmer สามารถใช้สำหรับตรวจวัดโปรตีนกระตุ้นการสร้างหลอดเลือด (PlGF) ในซีรัมของมารดาเพื่อหาภาวะครรภ์เป็นพิษในช่วงไตรมาสแรกได้ การตรวจวิเคราะห์ PAPP-A ของ PerkinElmer ก็มีการรับรองให้เป็นการตรวจวิเคราะห์ทางเลือกหรือการตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติมสำหรับภาวะครรภ์เป็นพิษในช่วงไตรมาสที่ 1 ได้ ตัวอย่างเลือดชุดเดียวนี้สามารถใช้ได้สำหรับทั้งการตรวจคัดกรองภาวะครรภ์เป็นพิษและความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม (aneuploidy) โดยใช้เครื่องมือและตัวบ่งชี้เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องเก็บตัวอย่างเลือดเพิ่มเติม

ความดันโลหิต

วัดความดันโลหิต

ในการทำนายการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ การคำนวณค่า MAP (ค่าความดันโลหิตตัวบน – ค่าความดันโลหิตตัวล่าง)/3 + ค่าความดันโลหิตตัวล่าง) อาจเป็นตัวบ่งชี้ที่มีประโยชน์ได้ โดยค่าความดันโลหิตที่อ่านได้ดังกล่าวจะต้องวัดจากแขนทั้งคู่พร้อมกัน 2 ครั้ง โดยใช้เครื่องวัดอัตโนมัติ 2 เครื่อง

อัลตร้าซาวด์

ตรวจวัดค่าดัชนีการไหลของเลือด (Pulsatility Index)

นอกจากนี้ยังสามารถตรวจวัดค่าดัชนีการไหลของเลือดในหลอดเลือดแดงมดลูก (Uterine Artery Pulsatility Index) (การตรวจคัดกรองภาวะครรภ์เป็นพิษแบบรวมโดยไม่ใช่ค่าดัชนีการไหลของเลือดอาจเป็นตัวเลือกที่ดีหากการเข้าถึงเครื่องอัลตร้าซาวด์มีจำกัด)

เทคโนโลยี DELFIA

ผลิตภัณฑ์เด่น

เทคโนโลยี DELFIA
แพลตฟอร์มการเข้าถึงแบบสุ่ม DELFIA® Xpress

แพลตฟอร์มการเข้าถึงแบบสุ่ม DELFIA® Xpress

แพลตฟอรม์การเข้าถึงแบบสุ่มของเครื่องวิเคราะห์ทางด้านภูมิคุ้มกันวิทยาสำหรับการตรวจคัดกรองก่อนคลอด
ระบบการตรวจวิเคราะห์ภูมิคุ้มกัน AutoDELFIA®

ระบบการตรวจวิเคราะห์ภูมิคุ้มกัน AutoDELFIA®

ระบบการตรวจวิเคราะห์ภูมิคุ้มกัน AutoDELFIA® สำหรับการตรวจคัดกรองก่อนคลอดและการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิด พร้อมการโหลดตัวอย่างวิเคราะห์เป็นชุดโดยอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ
ฟลูออโรมิเตอร์ VICTOR2™ D

ฟลูออโรมิเตอร์ VICTOR2™ D

ฟลูออโรมิเตอร์ออกแบบมาเพื่อการใช้งานทางคลินิก พร้อมด้วยการตรวจวิเคราะห์สำหรับวินิจฉัยและคัดกรองของ PerkinElmer ทั้งหมด ตามการวัดการเรืองแสงแบบติดตามช่วงเวลาที่สารเรืองแสง (Time-Resolved Fluorescence) หรือหรือการเกิดปรากฎการณ์วาวแสงทันที (Prompt Fluorescence)
ชุดตรวจ

ชุดตรวจที่เข้ากันได้

ชุดตรวจ
ไตรมาสที่ 2 และ 3

การจัดการภาวะครรภ์เป็นพิษ

ไตรมาสที่ 2 และ 3

อัตราส่วน sFlt-1/PlGF คืออะไร

การตรวจคัดกรองเพื่อวัดค่าความเข้มข้นจากซีรัมของมารดา

การตรวจคัดกรองเพื่อวัดค่าความเข้มข้นจากซีรัมของมารดา

ในช่วงไตรมาสที่สองและสาม sFlt-1 กับ PlGF จะใช้เป็นตัวบ่งชี้เพื่อทำนายและวินิจฉัยการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ โดยพบว่าซีรัมของมารดาที่มีระดับ sFlt-1 เพิ่มสูงขึ้นและมีระดับ PlGF ลดต่ำลงสามารถทำนายการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษต่อไปได้ ค่าระดับเหล่านี้จะใช้เป็นอัตราส่วน เพื่อช่วยยืนยันข้อสงสัยทางคลินิกของภาวะครรภ์เป็นพิษในผู้ป่วยที่มีอาการ

ฉันควรตรวจหาอัตราส่วน sFlt-1/PlGF เมื่อใด

การวินิจฉัยและการพยากรณ์โรค

การวินิจฉัยและการพยากรณ์โรค

การทดสอบเพื่อหาอัตราส่วน sFlt-1/PlGF ใช้สำหรับผู้ที่มีอาการและอาการแสดงของภาวะครรภ์เป็นพิษหลังจากสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ นอกจากใช้เพื่อยืนยันหรือตัดการวินิจฉัยภาวะครรภ์เป็นพิษแล้ว ยังพบว่าระดับ sFlt-1 และ PlGF มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการอีกด้วย การติดตามการเปลี่ยนแปลงของอัตราส่วนดังกล่าวจึงอาจใช้สำหรับแก้ไขการจัดการทางคลินิกและช่วยในการตัดสินใจให้ดีขึ้นได้

ซอฟต์แวร์การตรวจคัดกรองก่อนคลอด

การติดตามเพื่อการวินิจฉัยและการพยากรณ์โรคที่ดีขึ้น

การติดตามเพื่อการวินิจฉัยและการพยากรณ์โรคที่ดีขึ้น

ซอฟต์แวร์ LifeCycle™ ของเราช่วยให้ติดตามสถานะการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้อย่างง่ายดายด้วยอัตราส่วน sFlt-1/PlGF โดยที่ผลอัตราส่วนนี้สามารถเชื่อมโยงกับผลการตรวจอื่นๆ ของผู้ป่วยรายเดียวกันได้ คุณจึงสามารถติดตามผู้ป่วยได้ตั้งแต่การประเมินความเสี่ยงภาวะครรภ์เป็นพิษในไตรมาสที่ 1 ไปจนถึงการจัดการภาวะครรภ์เป็นพิษในไตรมาสที่ 2 และ 3

เทคโนโลยี DELFIA

ผลิตภัณฑ์สำหรับการจัดการภาวะครรภ์เป็นพิษในไตรมาสที่ 2 และ 3

เทคโนโลยี DELFIA
แพลตฟอร์มการเข้าถึงแบบสุ่ม DELFIA® Xpress

แพลตฟอร์มการเข้าถึงแบบสุ่ม DELFIA® Xpress

แพลตฟอรม์การเข้าถึงแบบสุ่มของเครื่องวิเคราะห์ทางด้านภูมิคุ้มกันวิทยาสำหรับการตรวจคัดกรองก่อนคลอด
ระบบการตรวจวิเคราะห์ภูมิคุ้มกัน AutoDELFIA®

ระบบการตรวจวิเคราะห์ภูมิคุ้มกัน AutoDELFIA®

ระบบการตรวจวิเคราะห์ภูมิคุ้มกัน AutoDELFIA® สำหรับการตรวจคัดกรองก่อนคลอดและการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิด พร้อมการโหลดตัวอย่างวิเคราะห์เป็นชุดโดยอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ
ฟลูออโรมิเตอร์ VICTOR2™ D

ฟลูออโรมิเตอร์ VICTOR2™ D

ฟลูออโรมิเตอร์ออกแบบมาเพื่อการใช้งานทางคลินิก พร้อมด้วยการตรวจวิเคราะห์สำหรับวินิจฉัยและคัดกรองของ PerkinElmer ทั้งหมด ตามการวัดการเรืองแสงแบบติดตามช่วงเวลาที่สารเรืองแสง (Time-Resolved Fluorescence) หรือหรือการเกิดปรากฎการณ์วาวแสงทันที (Prompt Fluorescence)
ชุดตรวจ

ชุดตรวจที่เข้ากันได้

ชุดตรวจ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะครรภ์เป็นพิษ

แหล่งค้นคว้า

การเรียนรู้และแหล่งค้นคว้าเกี่ยวกับภาวะครรภ์เป็นพิษ

แหล่งค้นคว้า

โซลูชันการตรวจคัดกรองก่อนคลอดเพิ่มเติม

การตรวจคัดกรองซีรัม

การตรวจคัดกรองทางชีวเคมีสำหรับความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม (aneuploidy)

เรียนรู้เพิ่มเติม
การทดสอบโรคก่อนคลอดแบบไม่รุกล้ำ

การทดสอบโรคก่อนคลอดแบบไม่รุกล้ำ

เรียนรู้เพิ่มเติม
GET IN TOUCH

Take the next step

GET IN TOUCH

Speak with a sales person

Talk to one of our product experts about the right solutions for you.

Contact us today

View more resources

Explore our articles and resources section for the latest information.

Learn More

Read the lastest news

Sign up for our newsletter to find out about the latest news.

Sign up

Products may not be licensed in accordance with the laws in all countries, such as the United States and Canada. Please check with your local representative for availability.

Revvity does not endorse or make recommendations with respect to research, medication, or treatments. All information presented is for informational purposes only and is not intended as medical advice. For country specific recommendations please consult your local health care professionals.

1. Daniel L. Rolnik et al. Aspirin versus Placebo in Pregnancies at High Risk for Preterm Preeclampsia. DOI: 10.1056/NEJMoa1704559, New England J Med June 2017

2. Wright D et al. Aspirin for Evidence-Based Preeclampsia Prevention trial: influence of compliance on beneficial effect of aspirin in prevention of preterm preeclampsia. Am J Obstet Gynecol. 2017 Sep 6

3. Poon LC et al., ASPRE trial: effect of aspirin in prevention of preterm preeclampsia in subgroups of women according to their characteristics and
medical and obstetrical history. Am J Obstet Gynecol 2017

4. Kuklina EV, et al. Hypertensive Disorders and Severe Obstetric Morbidity in the United States. Obstet Gynecol 2009; 113:1299-306

5. COMPARE study: Performance of commercially available placental growth factor tests in women with suspected preterm pre-eclampsia, Ultrasound in Obstetric Gynecology​

6. Herraiz et al Update on the Diagnosis and Prognosis of Preeclampsia with the Aid of the sFlt-1/PlGF Ratio in Singleton Pregnancies. Fetal Diagn Ther (2017) PROGNOSIS Hund et al. BMC Pregnancy and Childbirth 2014, 14:324

7. ISUOG Practice Guidelines: role of ultrasound in screening for and follow-up of pre-eclampsia, Ultrasound Obstet Gynecol 2018 DOI: 10.1002/uog.20105

8. Poon L, et al. The International Federation of Gynecology and Obstetrics (FIGO) Initiative on Pre-eclampsia: A Pragmatic Guide for First-Trimester Screening and Prevention. International Journal of Gynegology & Obstetrics. May 2019

Spin gif